ประวัติรถอีซูซุ.. เจ้าพ่อรถปิคอัพในประเทศไทย
ในประเทศไทย ตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ยี่ห้ออีซูซุในประเทศไทยคือ บริษัท ตรีเพชรอีซูซุเซลส์ จำกัด และมีบริษัทตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ยี่ห้ออีซูซุตามภูมิภาค ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศ และ มีโรงงานประกอบในประเทศไทย คือ อีซูซุ มอเตอร์ ( ประเทศไทย ) จำกัด โดยที่ตั้งของโรงงานจะอยู่ ที่ จังหวัดสมุทรปราการ และ จังหวัดฉะเชิงเทราโดยเป็นผู้ดำเนินธุรกิจจัดจำหน่ายรถอีซูซุ ชิ้นส่วนอะไหล่อีซูซุ และซ่อมบำรุงรถอีซูซุ รวมทั้งวางแผนงาน ธุรกิจในประเทศไทย ผลิต ภัณฑ์อีซูซุ ประกอบด้วย รถหัวลาก รถบรรทุก รถโดยสาร รถปิกอัพขับเคลื่อน 2 ล้อ และ 4ล้อ และรถยนต์นั่งอเนกประสงค์ขับเคลื่อน 2 ล้อและ 4 ล้อ โดยมี เครือข่ายการจำหน่าย ศูนย์บริการ และอะไหล่เกือบ 300 แห่งทั่วประเทศ ก่อตั้ง : 22 พฤศจิกายน 2517 จำนวนพนักงาน : 700 คน
โดยอีซูซุในประเทศไทยเริ่มมีการดำเนินการตั้งแต่ก่อน พ.ศ. 2500 เริ่มจำหน่ายรถบรรทุกอีซูซุคันแรก ในประเทศไทย ต่อมาในปี พ.ศ. 2502 ได้จัดตั้งสำนักงานขาย ขึ้นเป็นครั้งแรกที่ เชิงสะพานหัวช้าง กรุงเทพมหานคร ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2506 บริษัท มิตซูบิชิ (ประเทศไทย) จำกัด เริ่มต้นการประกอบรถยนต์อีซูซุ ภายในประเทศ ต่อมาในเดือนเมษายน พ.ศ. 2509 จึงก่อตั้ง บริษัท อีซูซุมอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ขึ้นเพื่อประกอบรถยนต์อีซูซุ ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2517 สำนักงานขายและศูนย์บริการได้รับการบริหารใหม่เป็นบริษัทอิสระ ภายใต้ชื่อ บริษัท ตรีเพชรอีซูซุเซลส์ จำกัด โดยการร่วมทุนของ บริษัท มิตซูบิชิ คอร์ปอเรชั่น และบริษัท อีซูซุมอเตอร์ ประเทศญี่ปุ่น มีนาคม 2528 บริษัท ไทยออโต้เซลส์ จำกัด ได้รับการจัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินธุรกิจด้านสินเชื่อรถยนต์กรกฎาคม 2530 บริษัท อีซูซุเอ็นยิ่นแมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับใบอนุญาตจาก คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนให้ผลิตเครื่องยนต์จำหน่าย
ในปีพ.ศ. 2532ได้เปิดตัวอีซูซุ ฟาสเตอร์ แซด นิวสองพันห้าดีไอ (Isuzu Faster Z New 2500 Di) หรือในตระกูล อีซูซุ ทีเอฟอาร์ (isuzu tfr)ในปีพ.ศ. 2535ได้เปิดตัวรถเอนกประสงค์ที่มีพื้นฐานมาจากรถกระบะอีซูซุ คาเมโอ (Isuzu Cameo) ในช่วง พ.ศ. 2534-2540 อีซูซุได้ประกอบรถกระบะให้กับค่ายรถยนต์อื่น คือ ฮอนด้า (ตามโครงการแลกเปลี่ยนผลิตภัณท์)และ โอเปิล(ซึ่งจีเอมออกแบบและพัฒนาร่วมกันก่อนแล้วแต่สมัยนั้นรถของจีเอ็มในประเทศไทย ยังเป็น โอเปิล ไม่ใช่ เชฟโรเลต) เนื่องจากฮอนด้า และ จีเอ็ม(สมัยนั้นยังเป็นโอเปิล) ยังไม่มีรถกระบะเป็นแบรนด์ของตัวเอง แต่อยากจะมีส่วนร่วมในรถกระบะบ้าง จึงให้อีซูซุประกอบให้ โดยฮอนด้าใช้ชื่อว่า ฮอนด้า ทัวร์มาสเตอร์ ส่วนโอเปิล(จีเอ็ม)ใช้ชื่อว่า โอเปิล แคมโป้ แต่ยอดขายย่ำแย่มาก ในช่วง พ.ศ. 2539-2546 อีซูซุไม่มีรถเก๋งเป็นแบรนด์ของตัวเอง จึงให้ฮอนด้าประกอบให้ โดยให้ชื่อว่า อีซูซุ เวอร์เท็กซ์ ถึงแม้ว่ารุ่นนี้จะเป็นรุ่นแรกที่เป็นรถซีดาน หรือรถเก๋งรุ่นสุดท้ายของอีซูซุประเทศไทย และใช้พรีเซนเตอร์ชื่อดังอย่าง ริชาร์ด เกียร์ แต่กลับทำยอดขายได้ย่ำแย่แต่ก็ขายได้ดีกว่ากระบะของฮอนด้าและโอเปิล โดยเลิกผลิตในปี พ.ศ. 2545 ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2540
ด้วยความเชื่อถือและสนับสนุนจากประชาชนชาวไทย รถอีซูซุทุกรุ่นสามารถ บรรลุยอดจำหน่ายรวมถึง 1 ล้านคัน ในวันที่16 พฤษภาคม ปี พ.ศ. 2545 ทางอีซูซุจึงได้เปิดตัวรถกระบะที่สมบูรณ์แบบที่สุดของอีซูซุเท่าที่เคยมีมา คือ อีซูซุ ดีแมคซ์ ซึ่งเปิดตัวครั้งแรกในโลกที่ประเทศไทย
2 ปีถัดมา ได้มีการเปิดตัว อีซูซุ มิว-เซเว่น ซึ่งเป็นรถเอนกประสงค์ที่ดัดแปลงจากรถกระบะ(พีพีวี)ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2550 เฉลิมฉลองครบรอบ 50 ปีทอง การดำเนินกิจการอีซูซุในประเทศไทย และฉลองยอดผลิต และยอดจำหน่ายอีซูซุทุกรุ่นครบ 2,000,000 คันในเดือนตุลาคมปี พ.ศ. 2554 ได้มีการเปิดตัว อีซูซุ ดีแมคซ์ รุ่นใหม่หมด พร้อมกับ เปิดโรงงานแห่งใหม่ที่นิคมอุตสาหกรรม เกต์เวย์ จ.ฉะเชิงเทรา เพื่อเป็นการรองรับการผลิตและความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ได้เฉลิมฉลองยอดผลิตรถในไทยที่3,000,000คันพร้อมเปิดตัวอีซูซุ ดีแมคซ์ เอ็กซีรีส์รุ่นพิเศษแต่งสปอร์ต ในเดือนพฤศจิกายนปี พ.ศ. 2556 ได้เปิดตัวรถเอนกประสงค์อีซูซุ มิวเอ็กซ์รุ่นใหม่มาแทนมิวเซเว่น ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2558 ได้เฉลิมฉลองยอดผลิตรถในไทยที่20,000คันพร้อมเปิดตัวอีซูซุ มิว-เอ็กซ์ เดอะ-ลิมิเต็ดรุ่นพิเศษชุดแต่งสปอร์ต ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2558 ได้เปิดตัวอีซูซุ ดีแมคซ์ ไฮ-แลนเดอร์รุ่นพิเศษ ฉลองครบรอบ 99 ปีอีซูซุพร้องชุดเแต่งสปอร์ต
ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ได้มีการเปิดตัว รุ่นใหม่ อีซูซุ ดีแมคซ์ บลูพาวเวอร์ ในหัวข้อ นวัตกรรมเปลี่ยนโลก ทั้งเครื่องยนต์ 1.9 ดีดีไอ และ 3.0 ดีดีไอ บลูพาวเวอร์ และในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2559 ได้เปิดตัวอีซูซุ ดีแมคซ์ เอ็กซ์-ซีรีส์ 1.9 ดีดีไอ บลูพาวเวอร์ และได้เปิดตัวรถเอนกประสงค์อีซูซุ มิวเอ็กซ์ 1.9 ดีดีไอ บลูพาวเวอร์ ในหัวข้อ เอกสิทธิ์แห่งผู้นำ กำหนดอนาคต
รุ่นที่ผลิตอยู่ในปัจจุบันในประเทศไทย
- รถกระบะเพื่อการพาณิชย์ขนาด 1 ตัน อีซูซุ ดีแมคซ์ บลู พาวเวอร์ (Isuzu D-Max Blue Power)
- รถเอนกประสงค์ SUV อีซูซุ มิว-เอ็กซ์ บลู พาวเวอร์ (Isuzu MU-x Blue Power)
รุ่นที่เลิกผลิตไปแล้วในประเทศไทย
- รถกระบะเพื่อการพาณิชย์ขนาด 1 ตัน อีซูซุ ดีแมคซ์ (Isuzu D-Max) ปี 2545-2554
- รถกระบะเพื่อการพาณิชย์ขนาด 1 ตัน อีซูซุ ดราก้อน เพาเวอร์ (Isuzu Dragon Power) ปี 2543-2545
- .
- .
- รถกระบะเพื่อการพาณิชย์ขนาด 1 ตัน อีซูซุ ดราก้อน อายส์ (Isuzu Dragon Eyes) ปี 2540-2543
- รถกระบะเพื่อการพาณิชย์ขนาด 1 ตัน อีซูซุ ฟาสเตอร์ แซด นิวสองพันห้าดีไอ (Isuzu Faster Z New 2500 Di) หรือในตระกูล อีซูซุ ทีเอฟอาร์ (isuzu TFR) นักเลงรถมักเรียกว่ามังกรทอง เพราะรุ่นแรกในโฆษณามีหุ่นยนต์มังกรสีทองขึ้นมาทำให้เป็นที่จดจำได้ง่าย ขายระหว่างปี 2532-2540
- รถกระบะเพื่อการพาณิชย์ขนาด 1 ตัน อีซูซุ ฟาสเตอร์ แซด (Isuzu Faster Z)
- รถเอนกประสงค์ อีซูซุ คาเมโอ (Isuzu Cameo) เรื่มการผลิตพ.ศ. 2535-2539
- รถเอนกประสงค์ SUV อีซูซุ มิว-เซเว่น (Isuzu MU-7) ปี 2547-2556
- รถเอนกประสงค์ SUV อีซูซุ ทรูเปอร์ (Isuzu Trooper)
- รถเอนกประสงค์ SUV อีซูซุ เวก้า (Isuzu Vega) ปีพ.ศ. 2541-2547
- รถยนต์นั่ง 4 ประตูขนาดเล็ก อีซูซุ เวอร์เท็กซ์ (Isuzu Vertex)
- รถยนต์นั่ง 4 ประตูขนาดกลาง อีซูซุ อาสก้า (isuzu aska)
ขอบคุณ https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B5%E0%B8%8B%E0%B8%B9%E0%B8%8B%E0%B8%B8
http://www.motortrivia.com/section-new-car/new-car-thai/0014-isuzu-d-max-mu-7/22-isuzu-super-platinum
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น